วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ภาพพระพุทธประวัติ























































































































































































































































































































































































































































































































































































































































ลวดลายเวียงกาหลง



































































เอกลักษณ์แห่งลายเวียงกาหลง


เอกลักษณ์แห่งลายเวียงกาหลง

เครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลงมีชื่อเสียงในเรื่องความสวยงามของรูปแบบ ลวดลาย ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ดินมีคุณภาพดี เนื้อดินมีความละเอียด สีขาวนวล น้ำเคลือบใสบาง และขึ้นรูปทำได้บาง มีการผลิตอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 – 20 กล่าวกันว่า เครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลง เป็นเครื่องหั้นที่มีราคาแพงอย่างมาก เมื่อเทียบกับเครื่องปั้นจากแหล่งอื่น จากการสัมภาษณ์ผู้มีความรู้ ผู้เชี่ยวชาญได้อธิบาย รูปแบบและลวดลายที่พบจากเตาเผาโบราณ ในระยะแรกมักจะวาดลวดลายแบบจีน เช่น ลายพันธุ์ไม้แบบจีน หรือเวียดนาม ลายเก๋งจีน ลายกิเลน ลายไก่ฟ้า ลายเส้นเหมือนกับเครื่องถ้วยจีน รูปทรงของภาชนะ จาน ชาม ถ้วย ไห บางส่วนก็มีลักษณะเป็นแบบจีน ระยะต่อมาก็มีรูปลักษณ์ต่างไปจากเครื่องถ้วยจีน มักพบรูปทรงและลวดลายที่ทำขึ้นมาโดยไม่ได้ตามอย่างศิลปะจีน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเวียงกาหลงเอง มีทำกันทั้งการเขียนลายดำใต้เคลือบ และเคลือบใส ในช่วงแรกๆนั้นทำภาชนะได้บาง และมีน้ำหนักเบา ช่วงหลังทำหนา และหนักขึ้น ตาดว่าคงจะมีการใช้กรรมวิธีเคลือบน้ำตาล เคลือบเขียว ซึ่งยังทำได้ไม่ค่อยดีนัก ใช้น้ำเคลือบหนาแต่ยังไม่ค่อยมีความสม่ำเสมอลวดลายที่ใช้เขียนลายใต้เคลือบนั้นส่วนมากก็เป็นลวดลายที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ประเภทพันธุ์ไม้ ดอกไม้ ภาพสัตว์ ผู้รู้บางท่านกล่าวว่า “อาจเป็นเพราะอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่สมบูรณ์ ส่งผลให้เกิดลายพวกนี้ขึ้น” ลายที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ คือ การดัดแปลงรูปกลีบดอกไม้หรือใบไม้ ให้เหมือนรูปนกกา ที่เรียกกันว่า “ลายกา” หรือดอกกาหลง ถ้าเป็นงานแบบเคลือบใสจะแต่งด้วยการขูดขีดหรือลายซี่หวี ลวดลายที่พบจากเศษชิ้นส่วนของเครื่องปั้นดินเผานั้น พบซ้ำๆ กันมาก แต่ก็ถือว่ามีลายจำนวนมากที่ช่างฝีมือสมัยก่อนได้ประดิษฐ์ไว้ ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีการพบแหล่งเตาเผาโบราณอยู่เรื่อยๆ ตามท้องที่ไร่นา เขตชุมชน หรือพื้นที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน เมื่อพบใหม่ก็จะเป็นมีลายแปลกๆ ปะปนอยู่ด้วยเสมอ แสดงให้เห็นว่ายังมีลวดลายที่ใช้การตกแต่งเครื่องปั้นดินเผาอีกเป็นจำนวนมาก ส่วนรูปแบบเท่าที่พบก็มีรูปทรงต่างๆ ทุกรูปแบบ ตั้งแต่ภาชนะเครื่องเคลือบสิ่งของเครื่องใช้สอย ของใช้ในพิธีกรรม ยังพบพระพุทธรูปดินเผาเคลือบ แ ละพระพิมพ์ดินเผาต่างๆ รวมทั้งตุ๊กตารูปคน รูปสัตว์ ขนาดเล็ก แต่ก็พบจำนวนไม่มากนัก

รูปแบบและลวดลายเครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลง แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
1. ลวดลายพันธุ์พฤกษา ได้แก่ ลายผักแว่น ลายก้านขด ลายดอกบัว ลายผักกูด ลายดอกเข็ม ลายหวีกล้วย ลายเมล็ดข้าว ลายใบมะพร้าว ลายดอกกาหลง ลายดอกโบตั๋น ลายสระบัว ลายใบเฟิร์น และลายอื่นๆ ได้แก่ ลายจุดหมึก (ลายหมัดไฟ) ลายขูดขีด (ลายซี่หวี) ลายแสงตะวัน เป็นต้น
2. ลวดลายรูปสัตว์ ได้แก่ ลายกิเลน ลายกวาง ลายสัตว์ 12 ราศี ลายนกกา ลายนกไก่ฟ้า ลายม้า ลายปลา เป็นต้น
3. รูปแบบภาชนะ ได้แก่ จาน ชาม ถ้วย แจกัน ไห โถพร้อมฝา กระปุกมีฝา คนที คนโท ขวด ผางประทีป เชิงเทียน เป็นต้น
4. รูปแบบประติมากรรม และตุ๊กตา ได้แก่ พระพุทธรูป พระพิมพ์ ตุ๊กตารูปคน ตุ๊กตารูปสัตว์ ตัวหมากรุก เป็นต้น

ประวัติเครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลง















ประวัติเครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลง

เวียงกาหลงเป็นแหล่งที่เหมาะสมที่สุดในการผลิตเครื่องปั้นดินเผา เพราะแหล่งดินที่นี่ เป็นดินที่มีคุณภาพในการผลิตเครื่องปั้นดินเผาชนิดเนื้อแกร่ง เป็นดินสีขาว มีคุณภาพคล้ายดิน เกาลินมีความเหนียวและยืดหยุ่น
เวียงกาหลงตั้งอยู่ท่ามกลางเมืองต่างๆของอาณาจักรล้านนา เตาเผาส่วนใหญ่ตั้งอยู่ตาม แนวสันเขาระหว่างเวียงป่าเป้า และวังเหนือ แยกจังหวัด เชียงรายและลำปางออกจากกัน มีแม่น้ำไหลผ่านหลายสายจากเหนือ ลงใต้ และมีเส้น ทางตามแนวสันเขา เชื่อมพะเยาและเชียงใหม่ มีกลุ่มชนต่างๆอาศัยอยู่จำนวนมาก และไม่อยู่ในเส้นทาง เดินทัพของพม่าหรือ อยุธยาทำให้เตาเผาเวียงกาหลงอยู่ในทำเล เหมาะสม มีความอุดม สมบูรณ์แลี้ยงตัวได้และปลอดภัยจากการเดินทัพ กลุ่มเตาเผาเวียงกาหลงในปัจจุบันอยู่ในเขต อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงรายและเขต อ.วังเหนือ จ.ลำปาง มีเตาเผาที่พบ แล้วประมาณสองร้อยกว่าเตา ตั้งเรียงรายอยู่ตามริม ฝั่งแม่น้ำลาว ทางทิศตะวันตกของเวียงกาหลงเป็นกลุ่มเตาป่าส้าน ทางทิศตะวันออก จะห่างไกลหมู่บ้าน เป็นกลุ่มเตาป่าเหว ป่าหยุม ป่าดงสันกู่ ห้วยเผาและห้วยทราย การสร้างเตาเผามีลักษณะแตกต่างกัน บางเตาสร้างโดยการก่อหรือขุดเป็นโพรงเข้าไปยังตลิ่งที่สูงชันแล้วสร้างเป็นเตาเผา บางเตาก่อ โดยใช้ดินเหนียวไม่ใช้อิฐหลังคาเตา ใช้ไม้ไผ่ก่อเป็นโครงรูปโค้งแล้วใช้ดินเหนียวหุ้มทับขนาดเตาเผาประมาณ 4.8 x 2 ม. มีปล่องไฟขนาดเล็ก หลังคาต่ำ บริเวณที่ใส่เชื้อเพลิงกว้าง



ลักษณะเตาเผาเครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลง
จากสภาพภูมิศาสตร์ตามลักษณะภูมิประเทศอันอุดมสมบูรณ์ของเวียงกาหลงจึงทำให้เวียงกาหลง เป็นเส้นทางติดต่อกันได้ทั้งหมด ไม่ว่า พะเยา เชียงใหม่ ลำปาง หรือแม้กระทั่งเชียงราย ดังนั้น เวียงกาหลงจึงมีผู้คนเป็นจำนวนมากอพยพมาอาศัยและทำกินอยู่ในเขตนี้
เตาเผาเครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลงเป็นเตาชนิดลมร้อนตรง (เปลวไฟจะผ่านตรงไปยังภาชนะที่เผาในเตา) เป็นเตาขนาดเล็กมีความกว้างไม่เกิน 2.00 เมตร ยาวไม่เกิน 4.80 เมตร ปล่องไฟมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 92 เซนติเมตร ผนังเตาหนาประมาณ 42 เซนติเมตร ตัวเตาก่อด้วยอิฐดิบ ฉาบด้วยดินเปียก (น้ำดินข้นมาก ๆ เพื่อเป็นตัวประสานให้อิฐดิบติดกันและป้องกันเปลวไฟพุ่งออกจากเตาเผาในขณะที่เผาเคลือบในอุณหภูมิสูง ๆ) เมื่อเวลาใช้ครั้งแรกจะบรรจุผลิตภัณฑ์เข้าในเตาเผาโดยเปิดด้านข้างของเตาเป็นช่องบรรจุผลิตภัณฑ์ เมื่อผลิตภัณฑ์เต็มห้องแล้วจึงปิดด้านข้างดังกล่าวด้วยอิฐดิบ หลังจากนั้นจึงทำการเผาผลิตภัณฑ์พร้อมกันกับเตาเผาครั้งแรก การนำผลิตภัณฑ์ออกจากเตาเผาใช้วิธีการอย่างเดียวกัน คือ ดึงอิฐที่ปิดตอนแรกออก (อิฐดิบที่เผาครั้งแรกพร้อมกับผลิตภัณฑ์จะสุกเพียงครึ่งหนึ่งหรือหนึ่งในสามของอิฐดิบที่เป็นแผ่นหนาแน่นเท่านั้น) นำผลิตภัณฑ์ออกจากเตาเผา การเผาผลิตภัณฑ์ในครั้งต่อไปจะทำอย่างเดียวกันนี้ต่อไป

ลักษณะของเตาชนิดลมร้อนผ่านขึ้นตรง

พื้นเตาโรยทรายเป็นตัว พื้นเตาลาดเอียงประมาณ 5 – 10 องศา
ปรับระนานของกี๋เพื่อให้ได้ แต่เดิม (โบราณ) จะใช้ลูกมะนาวกลิ้ง
ระดับและเป็นตัวยึด ปล่องไฟ Ø 0.5 – 1.00 เมตร จากปล่องไฟให้ไหลลง ไปทางด้านหน้า
บังคับไม่ให้ภาชนะล้มลงในขณะเผาผลิตภัณฑ์ เตา การไหลให้เป็นไปอย่างช้า ๆ เพื่อ
ในอุณหภูมิสูง เป็นการทดสอบว่า การไหลเวียนและ ในขณะที่เผาจะเป็นอย่างไร ถ้าลูก
มะนาวไหลลงเร็ว แสดงว่าความร้อน
และไฟจะวิ่งจากปากเตา ไปสู่ปล่องไฟ
อย่างรวดเร็ว ถ้าลูกมะนาวไหลลงช้า
เกินไปจะทำให้ความร้อน และไฟอั้น
ระดับพื้นดิน อยู่ภายในเตา อุณหภูมิในการเผาจะ
ไม่ถึงอุณหภูมิตามต้องการ

ช่องไฟ (ฟืน) กว้าง 1.40 เมตร ห้องเผาผลิตภัณฑ์ กว้าง 3.00 เมตร


บริเวณป่าเวียงกาหลงซึ่งเป็นป่ามีไม้ ลักษณะของเตาเวียงกาหลงซึ่งถูก ปล่องไฟของเตาเวียงกาหลง
นานาชนิด บริเวณดังกล่าวเป็นบริเวณ ค้นพบภายในบริเวณป่าเวียงกาหลง
ที่ได้ถูกลักลอบขุดเครื่องปั้นดินเผาเวียง
กาหลง

ลักษณะของเครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลง
เครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลง เป็นเครื่องปั้นดินเผาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่น คือเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะบางและมีน้ำหนักเบา เนื่องจากดินที่ใช้ในการปั้นเครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลงเป็นดินที่มีคุณสมบัติดี แสดงให้เห็นว่าบริเวณพื้นที่เวียงกาหลง เป็นแหล่งดินที่มีคุณภาพ เนื้อดินมีสีขาว เนื้อละเอียด มีเม็ดทรายปนน้อย สามารถขึ้นรูปภาชนะได้กว่าเครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตจากที่ผลิตแหล่งอื่นๆ ส่วนการเคลือบนิยมเคลือบถึงบริเวณเชิงขอบภาชนะ น้ำเคลือบใส มีทั้งสีฟ้าและสีเขียวอ่อน มักมีรอยราน รูปทรงที่ผลิต ส่วนมากจะเป็นจาน ถ้วย แจกัน เป็นต้น



เครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลงแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มใหญ่ กลุ่มที่ 1 ชนิดเขียนลวดลายสีดำใต้เคลือบและชนิดเคลือบสีเดียว
เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด มีคุณภาพดีและสวยงามที่สุด เตาเวียงกาหลงทุกแห่งผลิตงานแบบนี้ ยกเว้นกลุ่มเตาป่าดงและ วังเหนือ ลักษณะที่เห็นได้ง่ายคือเนื้อบาง น้ำเคลือบสีหลักคือเทาหม่น มีสีเขียวเจือบ้างเล็กน้อย ดินเป็นดินเนื้อละเอียด สีขาว สีเหลืองอ่อนและสีเทา ลวดลายที่ปรากฏบนภาชนะมีมากมายเช่น ชนิดเคลือบสีเดียว ส่วนใหญ่เป็นลายขูดขีดเป็น เส้น ขูดขีดเป็นลายดอกไม้ สำหรับชนิดเขียนลายใต้ เคลือบ เป็นลายข้าวเปลือก ลายพรรณพฤกษา บางลายคล้ายลายจีน ลายรูปคนและ สัตว์ในตำนาน อีกลายที่นิยมคือลายกลีบดอกบัวเรียงรายโดยรอบ รูปทรงของเครื่องปั้นดินเผามีลักษณะหลากหลายเช่น จาน ชาม แจกัน ซึ่งหลายๆแบบ และขนาดต่างๆกัน ตะเกียง เต้าปูน หม้อมีฝาปิด ไหขนาดใหญ่ ของขนาดเล็ก ของเด็กเล่นหรือใช้ในพิธีกรรมเช่น ตัวหมากรุก ตราประทับ แบบต่างๆ กล้องยาสูบ นกหวีด รูปตัวสัตว์และรอก เป็นต้น

กลุ่มที่ 2 กลุ่มเตาป่าหยุมชนิดเขียนลวดลายสีดำใต้เคลือบ
กลุ่มนี้มีลักษณะพิเศษคือ คล้ายกลุ่มที่ 1 แต่คุณภาพต่ำกว่าคือหนักและเนื้อหยาบกว่า ขอบก้นภาชนะหนาและตัด เป็นสี่เหลี่ยม เนื้อดินหยาบและน้ำเคลือบคุณภาพไม่ดีเท่า
กลุ่มที่ 3 กลุ่มเตาป่าดงชนิดเซลาดอน เซลาดอนจากกลุ่มเตาป่าดงนี้มีลักษณะคล้ายกับเซลาดอนของราชวงศ์ซุ่ง ซึ่งเป็น เซลาดอนขนาดแท้และนิยมมาก มีลักษณะที่พิเศษคือเคลือบหนาเป็นมันแวววาว มี รอยรานเป็นเส้นแยกคล้ายร่างแหทั่วภาชนะ มีสีต่างๆกันตั้งแต่
สีขาว นวลจนถึง สีเหลืองน้ำผึ้งและสีเขียวมะกอก ก้นภาชนะด้านนอกทาสีชอกโกแลต
กลุ่มที่ 4 กลุ่มเตาวังหนือ ส่วนใหญ่จะเป็นจานชามขนาดใหญ่ ชามและแจกันขนาดเล็ก น้ำเคลือบสีเขียว และแวววาว ส่วนที่น้ำเคลือบบางสี จะซีดส่วนที่หนาสีจะเข้ม โดยเฉพาะตรงขอบ ภาชนะและบริเวณลวดลายจะคล้ายตกผลึก ใสแวววาวมาก และมีลักษณะ เป็นรอย แตกคล้ายกระจกร้าว จานชามบางใบทำเป็นลายขูดขีดจากก้นภาชนะถึงขอบบนเป็น ลายเส้นโค้งขึ้นลง ลักษณะ เด่นที่สุดของจานคือ ขอบจานจะบิดเข้าบิดออกทำให้เกิด รอยหยัก ตัวภาชนะเปราะซึ่งเป็นลักษณะเด่นของเครื่องปั้นดิน เผาทางเหนือ ไม่นาน มานี้มีการพบเครื่องปั้นดินเผาสีน้ำตาลที่กลุ่มเตาวังเหนือด้วย ซึ่งไม่เคยพบมาก่อน กลุ่มที่ 5 เครื่องปั้นดินเผาสีน้ำตาล เครื่องปั้นดินเผาสีน้ำตาลที่เวียงกาหลงนี้ เป็นชนิดที่พบน้อยที่สุด พบเป็นไหสี น้ำตาลเข้มขนาดใหญ่ คุณภาพต่ำ นอกจากนี้ยังมีพวกสัตว์และแจกันสีน้ำตาลเข้ม บางชิ้นเคลือบเป็นสีน้ำตาลทอง ซึ่งคาดว่าเกิดโดยไม่ตั้งใจ กลุ่มที่ 6 เคลือบตะกั่วและทองแดง พบในปี ค.ศ.1985 ที่บ้านทุ่งม่าน เป็นภาชนะรูปแบบของเวียงกาหลง แต่น้ำเคลือบมีส่วนผสมของตะกั่วและทองแดงแล้วเผาในอุณหภูมิต่ำ ส่วนใหญ่เป็นแจกันขนาดเล็ก มีพระพุทธรูป รูปตัวสัตว์ นกหวีดและชามปนอยู่บ้าง